วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเมืองประเทศจีนในปี 2013


จากการประชุมสมัชชาใหญ่เต็มคณะของพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 18 เสร็จสิ้นลงเมื่อวันพุธ (14 พ.ย.) ประเทศจีนก็ได้คณะกรรมการประจำกรมการเมืองหรือโปลิตบูโรของพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดใหม่ ซึ่งเป็นองค์กรทรงอิทธิพลอำนาจสูงสุดของประเทศจีนจำนวน 7 คน ประกอบด้วย


1. สี จิ้นผิง วัย 59 ปี รองประธานาธิบดี

2. หลี่ เค่อเฉียงวัย 57 ปี รองนายกรัฐมนตรี

3. จางเกาลี่ วัย 65 ปี เลขานุการพรรคฯ สาขาเทียนจิน,

4. หลิว อวิ๋นซานวัย 65 ปี ผู้นำฝ่ายโฆษณาการของพรรคฯ

5. จาง เต๋อเจียงวัย 65 ปี รองนายกรัฐมนตรีและเลขาธิการพรรคฯ แห่งฉงชิ่ง

6. อวี๋ เจิ้งเซิงวัย 67 ปี เลขานุการพรรคฯ สาขาเซี่ยงไฮ้ฯ

7. หวัง ฉีซานวัย 64 ปีรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ




บุคคลที่ต้องจับตาคือ นายสี จิ้นผิง ที่ได้เป็นเลขาธิการแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งจะขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีด้วย และนายหลี่ เค่อเฉียง จะขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในเดือน มีนาคม 2556

"สี จิ้นผิง" ประธานาธิบดีจีนคนใหม่ จบการศึกษาด้านเคมีจากมหาวิทยาลัยซิงหวา รับใช้พรรคคอมมิวนิตส์ที่มณฑลเหอเป่ย์ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญในการผสมเทียมหมู

นายสี จิ้นผิง
 ดร.นพนันท์ อรุณวงศ์ ณ อยุธยา ผู้ชำนาญการด้านจีน เคยพูดถึงนายสี จิ้นผิงไว้ว่า

แพรวพราว-เอาจริง-ถึงลูกถึงคน และฉลาดหลักแหลม วาทะที่สะท้อนความคิดผู้นำอำนาจใหม่คนนี้ ที่ฮือฮากันอยู่ถึงทุกวันนี้ คือ

"ชาวต่างชาติบางคนที่กินดีอยู่ดีจนไม่มีอะไรทำ นอกจากการชี้นิ้ววิจารณ์เรื่องราวของจีน แต่ข้อแรกคือ จีนไม่เคยส่งออกการปฏิวัติ ข้อสอง จีนไม่เคยส่งออกความยากจนและความหิวโหย ข้อสาม จีนไม่เคยสร้างความเดือดร้อนให้ใคร คุณยังมีอะไรจะพูดอีกไหม?"

ส่วน "หลี่ เค่อเฉียง" ที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นชาวฮั่น จบการศึกษาปริญญาตรีสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์จากวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง ปริญญาโทและเอกเศรษฐศาสตร์

นายหลี่ เค่อเฉียง
 แตกต่างไปจากประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีคนก่อนๆ ที่ส่วนใหญ่เป็นวิศวกร ตัวอย่างเช่นอดีตประธานาธิบดี "เจียง เจ๋อหมิน" จบการศึกษาปริญญาตรีวิศวกรรมไฟฟ้าจากมหาวิทยาลัยเจียวตง ส่วน "หูจิ่นเทา" จบการศึกษาด้านเอกสถานีไฟฟ้าพลังน้ำ คณะวิศวกรรมชลประทาน จากมหาวิทยาลัยชิงหัว กรุงปักกิ่ง

ส่วนอดีตนายกรัฐมนตรี "จู หรงจี" จบคณะวิศวกรรมศาสตร์ เอกวิศวกรรมไฟฟ้า จากมหาวิทยาลัยชิงหัว และ "เวิน เจียเป่า" สำเร็จการศึกษาจากสถาบันธรณีวิทยาปักกิ่ง

การวิเคราห์จากแหล่งข่าวหลายแห่งระบุว่า

จากรายชื่อผู้นำจีนรุ่นใหม่ จะเป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยมเสียเป็นส่วนใหญ่ สะท้อนให้เห็น
ความพ่ายแพ้ของประธานาธิบดีหู จิ่นเทาวัย 70 คนปัจจุบัน เพราะผู้นำหัวปฏิรูปที่อยู่ภายใต้ร่มเงาของประธานาธิบดีหู จิ่นเทา 2 คน คือ นายหลี่ หยวนเฉา ผู้นำฝ่ายการจัดตั้งองค์กรกลาง วัย 62 ปี และนายวัง หยัง วัย 57 เลขาธิการพรรคฯ แห่งก่วงตง ถูกสลัดออกจากบัญชีรายชื่อ ส่วนผู้กุมชัยเห็นจะเป็นเจียง เจ๋อหมิน อดีตประธานาธิบดีคนก่อนที่ยังคงมีอิทธิพลสามารถดันคนของตนขึ้นสู่อำนาจระดับสูงได้เป็นทิวแถว

 การที่ลักษณะผู้นำรุ่นถัดไปเป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยมเสียเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ความหวังผลักดันการปฏิรูปการเมืองจีนริบหรี่ลง หลังจากที่ก่อนหน้านี้เรื่องอื้อฉาวทางการเมืองของนายปั๋ว ซีไหล อดีตเลขาธิการพรรคแห่งฉงชิ่ง ผู้มีนโยบายซ้ายจัดและมีแนวโน้มจะได้นั่งเก้าอี้ระดับสูงได้ร่วงลงจากอำนาจ สั่นสะท้านการเมืองในพรรคคอมมิวนิสต์จีนอย่างสาหัส

ศาสตราจารย์เคอร์รี่ บราวน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองจีนแห่งมหาวิทยาลัยซิดนีย์เผยว่า สามารถยืนยันได้ว่า หูนับวันยิ่งห่างไกลจากอำนาจเข้าไปทุกที หูไม่สามารถเอาชนะเจียงวัย 86 ปีได้

ศาสตราจารย์สตีฟ จัง ผู้บริหารสถาบันนโยบายจีนศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยน็อตติงแฮม เผยว่า ครั้งนี้ถือเป็นความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ของหู จิ่นเทา

เฉิน จื้อหมิง นักวิเคราะห์ในกรุงปักกิ่ง เผยว่า การเลื่อนขั้นของจาง เต๋อเจียง จาง

เกาลี่ และหลิว อวิ๋นซานซึ่งเป็นพวกอนุรักษ์นิยมทั้งหมดนั้น ทำให้เกมการเมืองจีนจบลงแบบไร้ความหมาย เนื่องจากใช้เรื่องอายุมาสกัดความสามารถผู้นำรุ่นใหม่ที่มีหัวก้าวหน้าเน้นปฏิรูป นั่นก็ชี้ชัดว่าผู้นำพรรคฯ ไม่ได้มีเจตคติต่อการปฏิรูปประชาธิปไตย


แบ่งเค้กการเมือง


นายจาง เต๋อเจียง
จาง เต๋อเจียง ผู้นั่งเก้าอี้เลขาธิการพรรคฉงชิ่งหลังจากปั๋ว ซีไหลถูกปลดเมื่อเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา จะได้ดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนประชาชนของนายอู๋ ปังกั๋วในเดือนมี.ค. นายจางเคยดำรงตำแหน่งผู้นำพรรคที่ก่วงตง และมีสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับเจียง จะได้อยู่ในลำดับสามรองสี จิ้นผิงและหลี่ เค่อเฉียง ซึ่งแตกต่างไปจากคณะบริหารชุดปัจจุบันที่ประธานสภามีความสำคัญอยู่ลำดับสอง ก่อนนายกรัฐมนตรี


นายอี๋ว์  เจิ้งเซิงกลุ่มการเมืองสายลูกท่านหลานเธอ ผู้ซึ่งบิดาเคยผ่านสมรภูมิการปฏิวัติมาก่อน ด้วยสายสัมพันธ์ที่มั่นคงและความสามารถในการรับมือกลุ่มต่าง ๆ ในพรรคคอมมิวนิสต์ได้อย่างเก่งกาจสามารถ จะได้นั่งเก้าอี้ประธานสภาที่ปรึกษาการเมืองประชาชนจีนหรือ CPPCC อันเป็นองค์กรที่ปรึกษาทางการเมืองระดับสูงของจีน ตำแหน่งนี้ใหญ่เป็นอันดับสี่

นายอี๋ว์  เจิ้งเซิง



นายหลิว อวิ๋นซาน

นายหลิว อวิ๋นซาน ผู้มีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับนายหลี่ ฉังชุน ซึ่งก็เป็นมุ้งการเมืองสายเจียง เจ๋อหมินอีกคน จะได้นั่งตำแหน่งฝ่ายโฆษณาการกลางแห่งพรรคคอมมิวนิสต์ และอาจจะได้โยกขึ้นไปกินตำแหน่งรองประธานาธิบดีและประธานกิจการพรรคคอมมิวนิสต์ ในฐานะเลขาธิการผู้มีอำนาจสูงดูแลคณะกรรมาธิการกลางฯ จำนวนสมาชิก 370 คน

นายจาง เกาลี่ อดีตเลขาธิการพรรคแห่งเซินเจิ้นฯ มีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเจียง จะได้เป็นรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหารดูแลด้านกิจการเศรษฐกิจ

นายจาง เกาลี่
 สำหรับตำแหน่งของหวัง ฉีซานน่าจะเป็นประธานคณะกรรมาธิการกลางด้านการตรวจสอบวินัยแห่งพรรคฯ ซึ่งเป็นองค์กรต่อต้านทุจริตระดับสูง ทำให้เขาได้อยู่ในลำดับที่ 7 แห่งตำแหน่งโปลิตบูโร

 
นายหวัง ฉีซาน

"อย่างน้อยหวังก็มีอำนาจที่แท้จริง มากกว่ามีแต่บทบาท และเขาสามารถทำอะไรได้ อาทิเช่น ขจัดเจ้าหน้าที่คอร์รัปชั่นอย่างปั๋วออกไปได้" เฉินกล่าว




ส่วนนายหลี่ หยวนเฉา เจ้าหน้าที่ระดับสูงของพรรค ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกลุ่มสันนิบาตเยาวชนและกลุ่มการเมืองของหู จิ่นเทา แม้ไม่ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ยังคงมีโอกาสดีที่จะได้ขึ้นสู่ตำแหน่งสูงในการโยกย้ายครั้งหน้า เมื่อบรรดาคณะกรรมการชุดนี้ถึงอายุเกษียณ

บทส่งท้าย

อย่างไรก็ตาม จากการเยือนไทยของนายเวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีของจีน เมื่อวันที่ 20-21 พฤศจิกายน 2555 ที่มาปฏิบัติภารกิจสุดท้ายก่อนอำลาตำแหน่ง "นายกรัฐมนตรีจีน" ที่ครบเทอม ๑๐ ปี ซึ่งนายเปลว สีเงิน ได้ตั้งข้อสังเกตุไว้ว่า “ถือเป็นเรื่องไม่ปกติ เพราะสำหรับจีน เมื่อประเทศเปลี่ยนรุ่นผู้นำ "ผู้นำเก่า" จะเก็บบทบาท หลีกทางให้ผู้นำ "อำนาจใหม่" นำพาต่อ แต่ครั้งนี้นายเวินเจียเป่ายังปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ "นายกฯ จีน" ให้ปรากฏ การเจรจาตกลงใดๆ กับไทยของนายเวิน เจียเป่า ก็เท่ากับการเจรจาตกลงกับนายสี จิ้นผิง และนายหลี่ เค่อเฉียง เป็นภาระผูกพันไปถึงรัฐบาลใหม่-อำนาจใหม่ระหว่างไทยกับจีน ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่า"กลุ่มผู้นำอำนาจใหม่" ของจีน คือนาย สีจิ้นผิง ประธานาธิบดี และนายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรี กับ "กลุ่มอำนาจเก่า" คือนายหู จิ่นเทา และนายเวิน เจียเป่า ที่เพิ่งหมดวาระอำนาจไม่ได้แตก "แยกขั้ว" กันไปทางไหน!

 ถึงแม้โลกภายนอกวิพากษ์ผ่านวิเคราะห์จาก 7 รายชื่อ "โปลิตบูโรใหม่" ว่าการไม่มีทั้งนายหู จิ่นเทา ทั้งนายเวิน เจียเป่า ติดอยู่ใน ๗ อำนาจสูงสุดของพรรคคอมมิวนิสต์ นั่นหมายถึง "การเมืองล้างขั้ว" ซึ่งเมื่อก่อนอาจใช่ แต่ตอนนี้ ไม่ใช่การเปลี่ยนขั้ว-เปลี่ยนฝ่าย หากแต่เป็นการ "ถ่ายโอนอำนาจ" ด้วยผนึกเป็น "ฝ่ายเดียวกัน"!








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น