วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
http://www.alist.psu.ac.th/

ระบบนี้ได้รับงบสนับสนุนจาก สกอ. ให้พัฒนาระบบขึ้นมา การสัมมนาเชิงวิชาการครั้งที่ 4 ที่ โรงแรมพาวิลเลี่ยน ควีนเบย์ กระบี่ เป็นการแนะนำระบบ เวอร์ชั่น 4 ซึ่งตอนแนะนำก็ดูน่าใช้ สามารถนำมาใช้ได้ตามการทำงานของห้องสมุด แต่เมื่อแบ่งกลุ่มการใช้งานทำให้เห็นว่าการพัฒนาเวอร์ชั่นนี้ยังไม่พร้อม เพราะมีผู้รู้อยู่ไม่กี่คน ทำให้การใช้งานเกิดการติดขัด ไม่สะดวก อย่างเช่นเมื่อเข้าไปใน Acquisition Module ซึ่งเป็นโมดูลใหม่ ไม่มีผู้แนะนำอยู่ จะไม่สามารถเข้าถึง
โมดูลได้ดี ได้แต่ดูกว้าง ๆ ว่าทำงานอย่างไรเท่านั้น ส่วนผู้ใช้ที่เป็นบรรณารักษ์ ม.สงขลา ก็ไม่สามารถแนะนำได้ เพราะเป็นโมดูลใหม่ ในเวอร์ชั่นที่ผ่านมายังไม่มี แต่จากการสังเกตพบว่า สามารถทำงานได้

ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้พัฒนาโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัตินี้และลงให้ห้องสมุดแต่ละแห่งในมหาวิทยาลัยต่างเวอร์ชั่น โดยห้องสมุดแรก ๆ จะได้เวอร์ชั่นที่ 1 ส่วนห้องสมุดที่ลงหลัง ๆ จะได้เวอร์ชั่นใหม่ แสดงว่า โปรแกรมนี้ไม่ได้ใช้ร่วมกัน ต่างคนต่างใช้มี server ของแต่ละห้องสมุด

สำหรับเวอร์ชั่นใหม่เป็นเวอร์ชั่น 4 มีโมดูล Acquisition เป็นโมดูลใหม่ ซึ่งห้องสมุดที่ใช้โปรแกรมนี้ยังไม่เคยเห็น ตอนนี้เวอร์ชั่น 4 นี้ใช้อยู่ที่ สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง ที่วิทยาเขตหาดใหญ่เท่านั้น และกำลังจะนำไปลงที่ หอสมุด จอห์น เอฟ เคนเนดี้ ที่วิทยาเขตปัตตานี


เมื่อห้องสมุดในสถาบันอุดมศึกษาอื่น ๆ จะการนำมาใช้ ต้องติดต่อผ่าน Project Manager ซึ่งเพิ่งมีผู้รับผิดชอบชื่อคุณ เนาวรัตน์ สอิด ทำงานมาได้ 1 เดือน คิดว่าเพราะมีผู้ใช้ระบบนี้มากขึ้น จึงต้องมีผู้ประสานงาน และทำหน้าที่เป็นฝ่ายประชาสัมพันธ์ด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะได้มีผู้รับผิดชอบในการติดต่อ ทำให้ผู้ที่คิดจะใช้ได้ติดต่อสอบถามสะดวกขึ้น

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WALAI AutoLIB มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
http://202.28.69.49/Wu/Index.aspx

ระบบนี้ได้รับการสนับสนุนจาก สกอ. เช่นกัน ตอนไปดูงาน ผู้เสนอระบบคือ อ. ยุทธนา เจริญรื่น เสนอระบบเวอร์ชั่น 2.0 ซึ่งยังไม่ได้ให้ใช้ เพราะปัจจุบันยังใช้ในเวอร์ชั่น 1.7 เท่านั้น ระบบการทำงานคล้าย ๆ กับระบบ ALIST แต่ระบบนี้นำมาใช้ที่ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับสำนักหอสมุดกลาง มศว ที่เป็นห้องสมุดหลายแห่ง แต่ใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน ทำให้ระบบนี้น่าสนใจ ส่วนห้องสมุดอื่น ๆ ที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นห้องสมุดขนาดเล็ก มีห้องสมุดขนาดกลางไม่มาก ทั้งหมด 40 กว่าแห่ง

การพัฒนายังมีอยู่ต่อเนื่อง ซึ่งหน่วยงานที่พัฒนามีการตั้งเป้าหมายว่า "จะผลิตระบบห้องสมุดอัตโนมัตที่เป็นของประเทศไทย" ให้ได้ และการนำเสนอก็ได้พูดถึงการนำระบบนี้มาใช้ต้องมีงบประมาณเท่าใด การดูแลระบบต้องจ่ายเท่าใด มีการแยกให้เห็นชัดเจน ทำให้ห้องสมุดที่มีแผนจะนำระบบนี้มาใช้สามารถตั้งงบประมาณได้ถูกต้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น